อนุทินที่ 2
แบบฝึกหัด
คำสั่ง: จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเป็นกลุ่มและเป็นสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ โดยมีวัฒนธรรมของตนที่จะรวมตัวเข้าด้วยกันเพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมและมีเหตุผลแต่ทั้งนี้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายอันมีสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจมีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน หากมีการใช้กำลังมากขึ้น สังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันนี้มีกฏหมายที่มีสภาพบังคับตรงตามวัตถุประสงค์ในการที่จะบังคับใช้ในสังคมปัจจุบัน โดยได้มีการจัดเเบ่งหมวดเเบ่งเหล่าไว้ เพื่อบังคับใช้ตามวัตถุประสงค์ของกฏหมายนั้นๆไว้เเล้วตามสมบูรณ์ ซึ่งหากไม่มีกฏหมายที่จะใช้บังคับกับมนุษย์ที่กระทำความผิด ก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทั้งกลับกลายให้สังคมที่พัฒนามาจากอดีตจนถึงปัจุบัน เปลี่ยนไปเป็นอดีตอีกครั้งหนึ่ง เพราะความวุ่นวาย การเเบ่งพักเเบ่งพวก ความเห็นเเก่ตัวของมนุษย์ในสังคมไม่มีที่สุดสิ้น
3.ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
ก. ความหมาย
ตอบ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2.มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินพ.ศ. 2548เป็นต้น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินพ.ศ. 2548เป็นต้น
4.มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ 1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย
ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่
จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย
ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่
จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆไปดังนี้
ก. กฎหมายภายในมีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอกมีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( CIVIL LAW SYSTEM ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดย
ราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( COMMON LAW SYSTEM) เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของ ศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม
ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลาย
ในเครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญาจะบัญญัติลักษณะ
การกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้
ไปปฏิบัตินั่นระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา
วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้ง
การบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม
จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ.แผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆไปดังนี้
ก. กฎหมายภายในมีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอกมีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ กฏหมายเป็นกฏเกณฑ์ที่จะใช้บังคับใช้เป็นปัจจัยพึงปฏิบัติตามประโยชน์ของสังคมหมู่มาก โดยกฏหมายได้ให้สิทธิ เสรีภาพเเก่ประชาชนเท่าเทียมกัน โดยผู้ได้จะใช้สิทธิเกินส่วนมากไม่ได้หากผู้ใดใช้สิทธิเกินส่วนหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นก็ต้องรับผิดในทางเเพ่งต่อบุคคลนั้นเเละหากกระทำการใดทำให้บุคคลอื่นเสียหายเเก่กายหรือจิตใจพึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในทางอาญา โดยกฏหมายหรือข้อบงคับดังกล่าว มีสภาพบังคับไม่ค่อยเเตกต่างกันในเเต่ละประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับสังคมของประเทศนั้นๆเเละเพื่อวัตถุประสงค์ในกฏหมายระหว่างประเทศที่กฏหมายของเเต่ละประเทศมีความคล้ายคลึงกัน
ดังนั้น ทุกประเทศจำต้องมีกฏหมายเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ซึ่งความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์เเต่ละคนมีกิเลสมีจิต รัก โลภ โกรธ หลง ฉะนั้นจึงต้องมีกฏเกณฑ์มาบังคับใช้มีบทลงโทษเพื่อมนุษย์ผู้กระทำผิดหรือผู้ที่คิดกระทำผิดมีความเกรงกลัวต่อกฏหมาย
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สภาพบังคับคือบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายโดยเฉพาะการกระทำเเละงดเว้นการกระทำตามกฏหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจจะถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ซึ่งสภาพบังคับในทางอาญาเเละทางเพ่งมีความเเตกต่างกัน ดังนี้สภาพบังคับในทางอาญาคือโดยที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญาปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ เเต่หากเห็นสภาพบังคับในคดีเพ่งคือผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทดเเทนเพื่อชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามบุคคลนี้ที่มีกันระหว่างเจ้าหนี้เเละลูกหนี้ เช่น บังคับให้หนีเงินกู้ดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้เเก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายของตน
ตอบ แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (CIVIL LAW SYSTEM) หรือระบบลายลักษณ์อักษรเป็นระบบเอามาจาก “JUS CIVILE” ใช้แยกความหมาย “JUS GENTIUM” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมายลาย ลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะ ถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
2. ระบบคอมมอนลอว์ (COMMON LAW SYSTEM) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (EQUITY) เป็น
กระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
กระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( CIVIL LAW SYSTEM ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดย
ราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( COMMON LAW SYSTEM) เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของ ศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม
ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลาย
ในเครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญาจะบัญญัติลักษณะ
การกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้
ไปปฏิบัตินั่นระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา
วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้ง
การบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม
จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ.แผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฏหมาย คือ การจัดอันดับบังคับเเบ่งกฏหมายหรือคำดังกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้จากองค์กรที่ต่างกันโดยกฏหมายในลำดับศักดิ์ที่สูงกว่า จะมีค่าบังคับกฏหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่า กล่าวคือกฏหมายที่มีลำดับของศักดิ์ต่ำกว่าใดมีเนื้อหาหรือข้อความขัดหรือเเย้งกัน กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายล่างนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้ โดยลำดับศักดิ์ของกฏหมายมีดังนี้
ลำดับสูงสุด คือ
1.กฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายสูงสุดของประเทศได้มีเนื้อหาหรือข้อความขัดเเย้งกันกฏหมายรัฐธรรมนูญกฏหมายนั้นไม่มีผลบังคับใช้
2.พระราชบัญญัติเเละประมวลกฏหมาย
3.พระราชกำหนด
4.พระราชกษฎีกา
5.กฏกระทรวง
6.ข้อบัญญัติจังหวัด
7.เทศบัญญัติ
8.ข้อบังคับขององค์การบิหารส่วนตำบล
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ ตามความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หมวด3 เรื่องสิทธิเเละเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 44 กำหนดว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชมนุมโดยสงบเเละปราศจากอาวุธการจำกัดเสรีภาพตามความในมนุษย์คนหนึ่ง
จะกระทำมิได้เว้นเเต่โดยอายัตยึดอำนาจตามกฏหมายที่มีขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลองดองสมานฉันท์ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
จะกระทำมิได้เว้นเเต่โดยอายัตยึดอำนาจตามกฏหมายที่มีขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลองดองสมานฉันท์ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฏหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติความรู้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องตามกฏหมายหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถายันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ดำรงขึ้นเเละมีผลบังคับใช้ เพื่อจัดการศึกษาให้มีข้อสอดคล้องกับกฏหมายปัจจุบัน โดยกฏหมายจารึกซึ่งมีขึ้นเป็นฉบับเเรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาติพุทธศักราช 2542
12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพเเวดล้อมที่เเตกต่างกัน เเต่มนุษย์ไม่สามารถสภาพเดียวตามลำพังได้จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ ด้วยการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว เป็นกลุ่มเเละเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในชีวิตเเละอยู่รอดได้รวมทั้งเพื่อป้องกันต่อสู้กับภัยที่จะมาถึงตัว โดยมีวัฒนธรรมของตนที่จะรวมตัวอยู่ด้วยกันเพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมเเละมีเหตุผล เเต่ทั้งนี้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดเเย้ง
มีการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายอันมีสาเหตุจากความไม่พึงพอใจ มีการเเกร่งเเย่ง การเเก้เเค้นซึ่งกันเเละกันหากมีการใช้กำลังกันมากขึ้นสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องอาศัยความมีเหตุผล ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาจากสังคมเล็กที่สุดคือครอบครัวไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือรัฐ ซึ่งจากที่กล่าวข้างต้นจึงทำให้มนุษย์สร้างกฏเกณฑ์ ระเบียบเเบบเเผนขึ้นโดยใช้เป็นกฏเกณฑ์สร้างสัมพันธ์เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมทำให้มีข้อห้ามที่จะต้องปฎิบัติ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษต่อไปทั้งนี้พึงเห็นได้ว่าหากมนุษย์ไม่มีกฏเกณฑ์ระเบียบเเบบเเผนหรือกฏหมายใช้บังคับก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม มีการกดขี่ข่มเหง อันทำให้เกิดการเเบ่งพักเเบ่งพวก โดยไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน
มีการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายอันมีสาเหตุจากความไม่พึงพอใจ มีการเเกร่งเเย่ง การเเก้เเค้นซึ่งกันเเละกันหากมีการใช้กำลังกันมากขึ้นสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องอาศัยความมีเหตุผล ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาจากสังคมเล็กที่สุดคือครอบครัวไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือรัฐ ซึ่งจากที่กล่าวข้างต้นจึงทำให้มนุษย์สร้างกฏเกณฑ์ ระเบียบเเบบเเผนขึ้นโดยใช้เป็นกฏเกณฑ์สร้างสัมพันธ์เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมทำให้มีข้อห้ามที่จะต้องปฎิบัติ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษต่อไปทั้งนี้พึงเห็นได้ว่าหากมนุษย์ไม่มีกฏเกณฑ์ระเบียบเเบบเเผนหรือกฏหมายใช้บังคับก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม มีการกดขี่ข่มเหง อันทำให้เกิดการเเบ่งพักเเบ่งพวก โดยไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น